เทคนิคการ ปลูกบวบ มะระ ฟักทอง แตงกวา ถั่วฟักยาว

[ สถิติผู้เข้าชม : 149 ครั้ง ]    แชร์เรื่องราวความรู้

รับข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรทางระบบไลน์ ทุกวันฟรี

เพิ่มเพื่อน




 

การผลิตพืชผักใช้ค้าง
การเตรียมแปลงปลูก
1. ไถดินตากแดดประมาณ 7 -10 วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชที่อยู่ในดิน ไถพรวนซ้ำอีก 1-2 ครั้ง
2. เตรียมดินโดยหว่านปูนขาวในอัตรา 100 – 300 กิโลกรัม/ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกอัตรา 2,000 – 2,500 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 30 - 50 กิโลกรัม/ไร่3. ยกแปลงสูง 4-5 นิ้ว กว้าง 120 ซม. ความยาวตามลักษณะของพื้นที่ ขุดหลุมปลูกระยะปลูก ระหว่างต้น75 ซม ระหว่างแถว 100 ซม.
การเตรียมพันธุ์
ซื้อพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีการบรรจุหีบห่อที่สามารถป้องกันความชื้นและอากาศจากภายนอก มีการ
ระบุวันหมดอายุที่ชัดเจน กรณีคัดเลือกพันธุ์ใช้เอง ควรคัดเลือกพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลง
โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่คัดเลือกไว้คลุกสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ก่อนเก็บรักษาในภาชนะที่ป้องกัน
ความชื้น เพื่อนำมาใช้ในฤดูกาลต่อไป

การปลูกมี 2 วิธี ดังนี้
1. การเพาะกล้า
- เตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 2:1 คลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ในถาดหลุมเพาะเมล็ด เพื่อเตรียมหยอดเมล็ดต่อไป
- การเตรียมเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดแช่น้ำอุ่น อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียล ประมาณ ½ ชั่วโม วางในอุณหภูมิห้อง หลังเมล็ดงอกมีรากยาวประมาณ 0.5 ซม. จึงนำไปเพาะต่อไป
- นำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงแต่หลุมเพาะเมล็ด 1 เมล็ด/หลุม กลบดินประมาณ 1 ซม.
- นำถาดเพาะกล้าไปใว้ในบริเวณที่ไม่มีแดดจัด หรือมีวัสดุพลางแสง รดน้ำทันทีด้วยบัวฝอย หมั่นตรวจดูความชื้น โรค แมลงศัตรูพืช และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
- เมื่อมีใบจริง 3-4 ใบ ย้ายปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ระยะปลูกตามความเหมาะสมของแต่ละพืช คลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่มพร้อมทำค้างทันที
2. การหยอดเมล็ด
- เมื่อเตรียมดินและหลุมปลูกแล้ว หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ด กลบดิน คลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม พร้อมทำค้าง
ทันที
การทำค้าง
- การทำค้างสำหรับพืชตระกูลแตง ได้แก่ บวบ แตง ฟัก น้ำเต้า มะระ ตำลึง พืชเหล่านี้มีมือจับเกาะ ยึดและทำหน้าที่ค้ำยันเถา พืชเหล่านี้มีเถาเลื้อยคลุมและมีแขนงมากมาก ต้องมีการทำค้างเพื่อลดการใช้พื้นที่ และสะดวกในการดูแลรักษา ของแตง บวบ ฟัก แฟง มะระ โดยใช้ไม้ไผ่ที่มีลำต้นตรง ความยาว 2.5 เมตร ปักตั้งฉากกับพื้นดินให้ลึกลงไปในดิน 50 ซม. สูงเหนือผิวแปลง 2 เมตร หลุมละ 1 ค้าง ถ้าปลูกแตง5 หลุมก็ใช้ 5 ค้าง แล้วใช้ไม้ค้างประเภทเดียวกันประกบส่วนปลายค้างให้ต่ำกว่าปลายค้าง 25 ซม. ให้ไม้ ค้างที่ประกบขนานกับผิวแปลง แล้วใช้ไม้คำยันหัวท้ายข้างละ 2 อันไขว้ไม้ค้ำยันตรงบริเวณที่ไม้ประกบ มัดติดกับปลายไม้ค้างส่วนบน ให้โคนไม้ค้ำยันห่างจากไม้ค้างที่ปักข้างละ 20 ซม. เพื่อใช้ยึดต้นพืชและกัน การกระพือของลมแรง และรับน้ำหนักเถาแตงได้เต็มที่ ควรปักค้างทันทีที่หยอดเมล็ดดีกว่าปักเมื่อมีต้นพืชงอกขึ้นมาแล้ว เพราะไม้ค้างที่ปักในภายหลัง อาจทำให้รากพืชขาดเสียหายได้ นอกจากนี้การปักค้างก่อนยังช่วยบอกตำแหน่งของหลุมที่ต้นพืชจะงอกขึ้นมาด้วย
แตงชนิดต่างๆ เมื่อทอดเถาออกไปก็จะมีเถาแขนง แตกออกด้านข้างด้วย ควรเลือกเถาแขนงที่มี ขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเถาหลักไว้ ตัดเถาที่มีขนาดเล็กทิ้งไป เพื่อไม่ให้มีการแย่งอาหารกันและป้องกันการ เกิดโรคและแมลง เถาแขนงที่เลือกไว้จะผูกกับเชือกฟางพลาสติกที่ขึงตึงระหว่างไม้ค้างแต่ละค้าง ซึ่งจะ ขึงเป็นชั้นๆห่างกันชั้นละ 30 ซม. จำนวน 4 ชั้น เมื่อแตงมีผลที่มีขนาดโตขึ้น เช่น ฟักทอง แตงไทย ฟัก เขียว ซึ่งผลมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ควรใช้เชือกฟางผูกที่ก้านผลแตงแล้วโยงเชือกมาผูกไว้กับไม้
ค้างที่ประกบไว้ด้านบนของค้าง เพื่อช่วยไม่ให้เถาแตงต้องรับน้ำหนักผลมากเกินไป

 


-สำหรับถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วเหล่านี้เวลาขึ้นค้างไม่มีมือสำหรับจับเกาะเหมือนเถาแตง แต่จะใช้เถา พันไม้ค้างในลักษณะเวียนไปทางขวา จึงต้องช่วยเก็บเถาถั่วพันกับค้างในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเสมอ ลักษณะการเลื้อยพัน ชอบพันค้างในแนวตั้งมากกว่าในแนวนอน การปักค้างถั่วให้ตั้งฉากกับพื้นดิน เป็นสองแถว คู่กันบนแปลงและมีไม้ค้ำยัน หัวแปลงจนท้ายแปลง ทุกๆความยาว 2 เมตร จะทำให้เก็บฝักถั่วง่าย สะดวกในการ ฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืช การปักค้าง ควรปักหลุมละ 1 ค้าง หลังจากหยอดเมล็ดเสร็จเรียบร้อยไม่ควรปักค้างขณะที่ ต้นถั่วเริ่มเลื้อยเพราะจะทำให้รากถั่วขาดช้ำเสียหายได้
การทำค้างมีหลายแบบอาจเป็นแบบปักตั้งตรงเดี่ยวๆ ปักแบบกระโจม (4 หลุมต่อกระโจม) ปักแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไป หรือแบบซุ้มโค้งก็ได้ ตามความต้องการ ความสะดวก และ วัตถุประสงค์ของผู้ปลูก
การให้ปุ๋ย
- ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 ระหว่างเตรียมดิน และช่วงออกดอก อัตรา 30-50 กก./ไร่
- ใส่ปุ๋ย 46-0-0 เมื่อกล้ามีอายุ 7-15 วัน อัตรา 30 กก./ไร่
- ใส่ปุ๋ย 13-13-21 เมื่อติดผล อัตรา 30 กก./ไร่
โดยโรยสองข้างของแถวปลูก พรวนดินกลบและให้น้ำตามทันที
การให้น้ำ
หลังย้ายกล้าปลูกให้น้ำทันที หมั่นตรวจดูความชื้นและให้น้ำสม่ำเสมอ
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
หมั่นตรวจแปลงเพื่อดูการเข้าทำลายของแมลงเมื่อพบสามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงด้วยการฉีดพ่นสาร
สกัดจากผลสะเดา หรือน้ำส้มควันไม้ หากระบาดมากอาจฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
โรคที่สำคัญ
โรคราน้ำค้าง,ราแป้ง,โรคเหี่ยว,โรครากเน่าโคนเน่า
แมลงที่สำคัญ
ด้วงเต่าแตง, แมลงหวี่ขาว,เพลี้ยอ่อน,เพลี้ยไฟ,แมลงวันทองหรือแมลงวันแตง


การเก็บเกี่ยว


- ฟักทอง อายุประมาณ 80-90 วันหลังเมล็ดงอก
- ฟักเขียวหรือแฟง อายุประมาณ 60-70 วันหลังเมล็ดงอก
โดยสังเกตสีเปลือก สีกลมกลืนเป็นสีเดียวกันดูนวลขึ้นเต็มผล การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วย เพื่อช่วยให้เก็บรักษา
ได้นานขึ้น
- บวบ อายุประมาณ 40-45 วันหลังปลูก โดยเก็บผลที่มีขนาดพอเหมาะไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยเก็บเกี่ยวให้มี
ขั้วบวบติดมากับผลด้วย
- แตงกวา อายุประมาณ 30-40 วันหลังปลูก ควรเก็บขณะที่ผลยังอ่อน สังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมี
หนามอยู่บ้าง

 

 

Create : Modify : 0000-00-00 00:00:00Read : 148URL :